รายงาน 2019 Southeast Asia E-Money Market ระบุว่า ในปี 2561 เอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีปริมาณการทำธุรกรรม e-money ในภูมิภาคเพิ่มขึ้นมากกว่าร้อยละ 31 โดยอินโดนีเซียและฟิลิปปินส์แสดงการเติบโตที่มีประสิทธิภาพกรณีกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ที่ไม่ใช่ธนาคารกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิสก์ที่ไม่ใช่ธนาคารที่ได้รับความนิยมในอินโดนีเซียมีส่วนแบ่งการตลาดกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์คิดเป็นร้อยละ 36 ของตลาด e-money ทั้งหมดในอินโดนีเซียในปี 2561
อินโดนีเซียนับเป็นประเทศที่มีพัฒนาการด้านระบบการชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์อินโดนีเซียนับเป็นประเทศที่มีพัฒนาการด้านระบบการชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์ เช่น e-money และ e-wallet เป็นอย่างมาก เพื่อรองรับภาคอีคอมเมิร์ซ รวมทั้งรองรับประชาชนอินโดนีเซียจ านวนมากที่ไม่มีบัญชีธนาคารความพร้อมและความหลากหลายในระบบการชำระเงินดังกล่าว ส่งผลให้ภาคอีคอมเมิร์ซเของอินโดนีเซียจริญเติบโตอย่างรวดเร็วยิ่งขึ้นโดยประชาชนสามารถเข้าถึง/เลือกซื้อสินค้าจากหลากหลายช่องทางโดยไม่ถูกจำกัดด้านวิธีการชำระเงิน ซึ่งอาจส่งผลเชิงบวกต่อสินค้า/บริการไทยบนตลาดการค้าออนไลน์ e-platform ในอินโดนีเซีย
สำหรับโอกาส/แนวทางการปรับตัวของภาครัฐ/ภาคเอกชน/ผู้ประกอบการไทย
การส่งเสริมการนำสินค้า/บริการไทยขึ้นทะเบียนบนตลาดการค้าออนไลน์ e-platform ของบริษัทสัญชาติอินโดนีเซีย (เช่น Tokopedia, Bukalapak และ Blibli เป็นต้น) หรือบริษัทคู่แข่งจากต่างประเทศ (เช่น Shopee, Lazada, Tencent, Alibaba, JD.id เป็นต้น) จะทำให้สินค้าและบริการไทยมีโอกาสในตลาดอินโดนีเซียที่มีช่องทางการชำระเงินที่หลากหลายมากยิ่งขึ้น
หากตลาดการค้าออนไลน์ e-platform ของไทยสามารถเชื่อมโยงระบบการชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์/สร้างความร่วมมือกับระบบชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์ของอินโดนีเซีย โดยมีระบบ clearing and settlement ก็จะสามารถอ านวยความสะดวกการซื้อสินค้า/บริการไทยมากยิ่งขึ้น
ที่มา สำนักงานส่งเสริมในต่างประเทศ ณ กรุงจาการ์ตา
กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ |