การประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก (EAS) มีกี่ประเทศ
-อาเซียน 10 ประเทศ และ
-ออสเตรเลีย จีน อินเดีย ญี่ปุ่น สาธารณรัฐเกาหลี นิวซีแลนด์
รัสเซีย สหรัฐอเมริกา
-รวม 18 ประเทศ
EAS ประชุมหารือเกี่ยวกับเรื่องอะไรบ้าง
-หารือประเด็นเชิงยุทธศาสตร์เกี่ยวกับสันติภาพ
ความมั่นคง และความมีเสถียรภาพของภูมิภาค
-ซึ่งมีอาเซียนเป็นแกนกลาง
-มุ่งมั่นที่จะเสริมสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจเชิงยุทธศาสตร์
-สนับสนุนการหารืออย่างสร้างสรรค์
-ยึดหลักนิติธรรมบนพื้นฐานกฎหมายระหว่างประเทศในการจัดการกับประเด็นความท้าทายทั้งในรูปแบบเดิมและรูปแบบใหม่
อาทิ
-อาชญากรรมข้ามชาติ การก่อการร้าย การค้ามนุษย์
การจัดการภัยพิบัติ และความมั่นคงไซเบอร์
EAS สนับสนุนอาเซียนเรื่องอะไรบ้าง
-สนับสนุนความเป็นแกนกลางของอาเซียน
-มุมมองของอาเซียนต่อแนวคิดอินโด-แปซิฟิก (ASEAN Outlook on the
Indo-Pacific)
EAS หารืออาเซียนเรื่องอะไรบ้าง
-เสริมสร้างการยอมรับความแตกต่างในสังคม
-การต่อต้านการก่อการร้าย
-ความมั่นคงไซเบอร์
-ความมั่นคงทางทะเล
EAS แลกเปลี่ยนความคิดเห็นเรื่องอะไรบ้าง
-การส่งเสริมระบบพหุภาคี การค้าเสรี
และการบูรณาการทางเศรษฐกิจภายในภูมิภาคมากขึ้น
-ความเปลี่ยนแปลงจากการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 (4IR)
-ความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (Regional Comprehensive
Economic Partnership RCEP)
-ความร่วมมือเพื่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและความเชื่อมโยง
เศรษฐกิจดิจิทัล เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
-นวัตกรรม
-การประมงที่ยั่งยืน
-ปัญหาความเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
-การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมทางทะเล
-การจัดการภัยพิบัติ
-สถานการณ์ในภูมิภาค อาทิ
-พัฒนาการของกระบวนการสันติภาพในคาบสมุทรเกาหลี
-สถานการณ์ในรัฐยะไข่
-ทะเลจีนใต้
EAS รับรองถ้อยแถลงอะไรบ้าง
-ที่ประชุมได้รับรองถ้อยแถลงผู้นำ 3 ฉบับ ได้แก่
1) ถ้อยแถลงผู้นำการประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออกว่าด้วยการต่อต้านการแพร่ระบาดของยาเสพติดผิดกฎหมาย
2) ถ้อยแถลงผู้นำการประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออกว่าด้วยความร่วมมือเพื่อต่อต้านอาชญากรรมข้ามชาติ
3) ถ้อยแถลงผู้นำการประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออกว่าด้วยการเป็นหุ้นส่วนเพื่อความยั่งยืน
EAS ความเป็นมา
-EAS ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี
2542
-โดยได้รับอาณัติให้ดำเนินการตามแผนปฏิบัติการกรุงมะนิลาเพื่อผลักดันปฏิญญากรุงพนมเปญว่าด้วยข้อริเริ่มการพัฒนาของการประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก
ค.ศ. 2018-2022
(รายละเอียด)
ผลการประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก
ครั้งที่ 14
เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2562 พลเอกประยุทธ์
จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีเป็นประธานการประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก (East Asia Summit EAS) ครั้งที่ 14 ซึ่งจัดขึ้นระหว่างการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่
35 และการประชุมสุดยอดที่เกี่ยวข้อง โดยมีผู้นำของประเทศสมาชิกอาเซียน
กับผู้นำออสเตรเลีย จีน อินเดีย ญี่ปุ่น สาธารณรัฐเกาหลี นิวซีแลนด์ รัสเซีย
และผู้แทนพิเศษของประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา เข้าร่วมการประชุมด้วย
ที่ประชุมย้ำถึงความสำคัญของ EAS ในการเป็นเวทีระดับผู้นำที่หารือประเด็นเชิงยุทธศาสตร์เกี่ยวกับสันติภาพ
ความมั่นคง และความมีเสถียรภาพของภูมิภาคซึ่งมีอาเซียนเป็นแกนกลาง โดย EAS มุ่งมั่นที่จะเสริมสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจเชิงยุทธศาสตร์
สนับสนุนการหารืออย่างสร้างสรรค์
และยึดหลักนิติธรรมบนพื้นฐานกฎหมายระหว่างประเทศในการจัดการกับประเด็นความท้าทายทั้งในรูปแบบเดิมและรูปแบบใหม่
อาทิ อาชญากรรมข้ามชาติ การก่อการร้าย การค้ามนุษย์ การจัดการภัยพิบัติ
และความมั่นคงไซเบอร์
ที่ประชุมรับทราบว่าปัจจุบันภูมิภาคอาเซียนกำลังเผชิญหน้ากับระบบการเมืองระหว่างประเทศที่มีความไม่แน่นอน
และภาวะชะลอตัวทางเศรษฐกิจ ในด้านการเมืองและความมั่นคง ที่ประชุมย้ำถึงการสนับสนุนความเป็นแกนกลางของอาเซียน
และมุมมองของอาเซียนต่อแนวคิดอินโด-แปซิฟิก (ASEAN Outlook on the Indo-Pacific) พร้อมทั้งได้หารือถึงความร่วมมือด้านต่าง ๆ อาทิ
เพื่อเสริมสร้างการยอมรับความแตกต่างในสังคมการต่อต้านการก่อการร้าย
ความมั่นคงไซเบอร์ และความมั่นคงทางทะเล
ในด้านเศรษฐกิจ
ที่ประชุมได้รับทราบถึงแนวโน้มของการกีดกันทางการค้าโลกที่มีมากขึ้น
ในการนี้จึงได้มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับการส่งเสริมระบบพหุภาคี
การค้าเสรี และการบูรณาการทางเศรษฐกิจภายในภูมิภาคมากขึ้น
ตลอดจนหารือถึงความเปลี่ยนแปลงจากการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 (4IR) ความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (Regional Comprehensive
Economic Partnership RCEP) และ
ความร่วมมือเพื่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและความเชื่อมโยง เศรษฐกิจดิจิทัล
เทคโนโลยีสารสนเทศและ การสื่อสารรวมถึงนวัตกรรม และการประมงที่ยั่งยืน
ในด้านสังคมและวัฒนธรรม ผู้นำได้หารือเกี่ยวกับปัญหาความเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมทางทะเล และการจัดการภัยพิบัติ
นอกจากนี้
ที่ประชุมได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับสถานการณ์ในภูมิภาค
อาทิพัฒนาการของกระบวนการสันติภาพในคาบสมุทรเกาหลี สถานการณ์ในรัฐยะไข่
และทะเลจีนใต้
ที่ประชุมได้รับรองถ้อยแถลงผู้นำ 3 ฉบับ
ได้แก่ (1) ถ้อยแถลงผู้นำการประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออกว่าด้วยการต่อต้านการแพร่ระบาดของยาเสพติดผิดกฎหมาย
(2) ถ้อยแถลงผู้นำการประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออกว่าด้วยความร่วมมือเพื่อต่อต้านอาชญากรรมข้ามชาติ
และ (3) ถ้อยแถลงผู้นำการประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออกว่าด้วยการเป็นหุ้นส่วนเพื่อความยั่งยืน
EAS ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2542 โดยได้รับอาณัติให้ดำเนินการตามแผนปฏิบัติการกรุงมะนิลาเพื่อผลักดันปฏิญญากรุงพนมเปญว่าด้วยข้อริเริ่มการพัฒนาของการประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก
ค.ศ. 2018-2022
ที่มา www.asean2019.go.th
|