ความรับผิดชอบ
● เป็นผู้แทนหลักในการเข้าร่วมประชุมรัฐมนตรีเกษตรและป่าไม้อาเซียน
● ดำเนินการลดภาษีสินค้าเกษตร
● จัดตั้งระบบแนวปฏิบัติที่ดีสำหรับผลิตภัณฑ์เกษตร การเพาะเลี้ยงสัตว์ และมีระบบการวิเคราะห์อันตราย และจัดการวิกฤติที่ต้องควบคุม (Hazard Analysis Critical Control Point)
● ปรับ ประสานระบบการกักกันและวิธีการตรวจสอบหรือสุ่มตัวอย่าง ตลอดจนมาตรการด้านสุขอนามัยสำหรับผลิตภัณฑ์เกษตรอาหาร และป่าไม้
● ปรับ ประสานระดับปริมาณสารตกค้างสูงสุดที่ยอมรับได้ของยาปราบศัตรูพืช
● ปรับ ประสานกฎเกณฑ์สำหรับผลิตภัณฑ์เกษตรที่มาจากเทคโนโลยีชีวภาพสมัยใหม่ (Modern Biotechnology) ให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล
● ปรับ ประสานมาตรฐานด้านความปลอดภัยและคุณภาพผลิตภัณฑ์พืชสวนและผลิตภัณฑ์เกษตร
● ปรับ ประสานการควบคุมสุขภาพสัตว์ เพื่อความปลอดภัยของอาหาร โดยใช้กรอบมาตรฐานร่วมในการบริหารจัดการเกี่ยวกับความปลอดภัยทางชีวภาพให้สอดคล้องกับหลักสากล
● ปรับ ประสานแนวทางการใช้สารเคมี และมาตรการขจัดการใช้สารเคมีอันตรายให้สอดคล้องกับหลักสากล
● พัฒนากรอบระดับภูมิภาคสำหรับระเบียบการออกใบรับรองด้านป่าไม้ (Forest Certification)
● ส่งเสริมความร่วมมือและการถ่ายโอนเทคโนโลยี โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์เกษตร อาหาร และป่าไม้ ระหว่างอาเซียนกับองค์การนานาชาติทั้งภาครัฐและเอกชน
● เสริมสร้างความร่วมมือต่อต้านการค้าไม้ที่ผิดกฎหมาย และการป้องกันไฟป่า
● เสริมสร้างความร่วมมือ เพื่อต่อต้านการทำประมงที่ผิดกฎหมาย
● ส่งเสริมให้เกิดสหกรณ์การเกษตรอาเซียน
โดย สำนักงาน ก.พ. |