2) การกำหนดรูปแบบโครงสร้างส่วนราชการภายในกระทรวง โดยให้ทุกกระทรวงแบ่งส่วนราชการที่ทำหน้าที่อำนวยการและวิชาการ ออกเป็น 4 ส่วน
(1) งานวางแผน (Planning Service)
(2) งานคลังและการจัดการ (Financial and Management Service)
(3) งานบริหารทั่วไป (Admistrative Service)
(4) งานวิชาการ (Technical Service)
ด้านงานหลักหรือด้านการปฏิบัติการ จะแบ่งออกเป็นกรม (Bureaus) และสำนักงานเขต (Regional Offices) จนกระทั่งปี พ.ศ. 2529 ได้มีการปฏิรูประบบราชการอีกครั้ง โดยมีการตั้งคณะกรรมการขึ้นหนึ่งชุด เรียกว่า Presidential Commission on Government Reorganization และได้มีการปรับปรุงส่วนราชการและการบริหาร เพื่อเน้นด้านการบริหารการพัฒนา และสอดรับกับการให้ภาคประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารประเทศ
ต่อมาใน ปี พ.ศ. 2539 ในสมัยของประธานาธิบดีฟิเดล รามอส (Fidel Ramos) ได้มีการปฏิรูประบบราชการอีกครั้งหนึ่ง โดยใช้ชื่อว่า "Reengineering of the Bureaucracy Program มีจุดมุ่งหมายเพื่อความมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลของระบบราชการ ปรับเปลี่ยนภาคราชการให้เกิดความเข้มแข็ง และให้ภาคเอกชนเข้ามามีบทบาทในการพัฒนาประเทศเพิ่มมากขึ้น โดยการกระจายงานระหว่างหน่วยงาน ของรัฐในระดับต่าง ๆ ให้เหมาะสม และขจัดการปฏิบัติงานที่ไม่จำเป็นออกไป
ในการปฏิรูประบบราชการในแต่ละครั้ง จะต้องมีการแต่งตั้งคณะกรรมการ เพื่อนำเสนอนโยบาย หลักการ แนวทาง มาตรการ และแผนการดำเนินงาน เสนอต่อประธานาธิบดี จากนั้นคณะกรรมการชุดดังกล่าวจะถูกยุบตัวลง และมีกระทรวงงบประมาณและการจัดการ (Department of Budget and Management) เข้ามาทำหน้าที่เป็นฝ่ายเลขานุการของคณะกรรมการและรับผิดชอบในการศึกษา วิเคราะห์ และจัดทำรายงานสรุปข้อเสนอเกี่ยวกับนโยบาย แนวทาง มาตรการ และแผนการดำเนินการตามมติของคณะกรรมการ เพื่อเสนอประธานาธิบดีพิจารณาสั่งการให้กระทรวงต่าง ๆ ไปดำเนินการต่อ ตลอดจนมีหน้าที่ให้คำปรึกษา แนะนำ ติดตาม เร่งรัดให้กระทรวงต่าง ๆ ดำเนินการตามนโยบาย หลักการ มาตรการ และแผนการดำเนินการตามที่ประธานาธิบดีเห็นชอบ และมีคำสั่งให้กระทรวงต่าง ๆ ดำเนินการ
โดย สำนักงาน ก.พ. |