จากพระราชดำรัสหรือพระบรมราโชวาทดังกล่าว ต่างสะท้อนถึงความสำคัญของ MIB ซึ่งสื่อถึงความหมาย ดังนี้
1. M: Malayu หรือ มลายู ซึ่งคำว่า "มลายู ยังสามารถตีความถึงความเป็นเป็นชาวมลายูของชาวบรูไน ดังนั้นประเทศบรูไนจึงเป็นประเทศของชาวมาลายู มีสุลต่านชาวมาลายูเป็นผู้ปกครองประเทศ มีวิถีชีวิตตามวัฒนธรรมมลายูที่สืบทอดกันมา จนกลายเป็นอุดมคติของคนบรูไนจนถึงปัจจุบัน ซึ่งวิถีแห่งคุณค่าวัฒนธรรมที่สำคัญพอสรุปได้ ดังนี้
1) วัฒนธรรมมลายูถือเป็นวัฒนธรรมแห่งชาติและเป็นวิถีชีวิตที่ทรงคุณค่า
2) ภาษามลายูเป็นความมั่นคงที่แสดงให้เห็นถึงอัตลักษณ์ของความเป็นภาษาแห่งชาติ
3) ศาสนาอิสลามเป็นวิถีที่การปฏิบัติตามขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมของมลายูต้องยึดมั่นตั้ง
4) ราชประเพณีเป็นระบบที่สอดคล้องกับวัฒนธรรมมลายู
2. I: Islam หรือ อิสลาม คำว่า "อิสลาม ในที่นี้หมายถึง ศาสนาที่อัลลอฮ์ได้ประทานให้ชาวมลายูบรูไนได้ยึดถือเป็นแบบแผนในการดำรงชีวิต ที่อยู่ร่วมกับเพื่อนมนุษย์ ธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม รวมทั้งการปกครอง ประเทศต้องเป็นไปตามหลักการอิสลาม ที่เป็นแกนสำคัญในการบริหารการปกครองประเทศที่มีสุลต่านเป็นผู้นำ และมีรากฐานบนการกระทำความดีที่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อส่วนรวม ซึ่งคำว่า "อิสลาม ในบริบท ของบรูไนพอสรุปได้ ดังนี้
1) อิสลามเป็นศาสนาที่อัลลอฮ์ประทานให้
2) การกระทำแต่ความดีเป็นวิถีการดำเนินชีวิตที่มั่นคง อันเป็นรากฐานของอิสลาม
3) อิสลามเป็นระบบปกครองที่รวมพระราชาและประชาชนให้เป็นหนึ่งเดียว
3. B: Beraja คือ พระราชา หรือพระมหากษัตริย์ และในที่นี้หมายถึงระบบการปกครองที่มีองค์สมเด็จพระราชาธิบดีทรงเป็นประมุข ซึ่งถูกวางรากฐานบนการตีความตามแนวของศาสนาอิสลามแบบบรูไนว่า อำนาจการปกครองนั้น เป็นรางวัลแห่งความไว้วางใจจากพระเจ้า ให้พระองค์ปกครองประเทศด้วยความยุติธรรมมลายู อิสลาม พระมหากษัตริย์ หรือ MIB เมื่อถูกวางรากฐานทางความคิดแล้ว รวมทั้งเกิดผลในทางปฏิบัติ ซึ่งทำให้เกิดประโยชน์ในการปกครอง ดังนี้
1. การปกครองที่มีความมั่นคง เสถียรภาพ
2. ทำให้เกิดความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของคนในชาติที่เป็นชาตินิยมมาลายู-บรูไน เกิดความร่วมมือในการทำงานร่วมกัน
3. สามารถป้องกันประเทศจากอริราชศัตรูภายนอกได้ ซึ่งทำให้สามารถรักษาเอกราชของชาติไว้ได้
4. การนำกฎหมายอิสลามมาใช้ ทำให้เกิดความเป็นธรรมในทัศน์ของชาวมุสลิม
5. การเปิดโอกาสให้ใช้หลักการอิสลามอย่างเปิดกว้าง ในส่วนที่ไม่ก่อให้เกิดปัญหาความมั่นคงของชาติ ทำให้การปกครองภายในหรือการรักษาความสงบภายในทำได้สะดวกง่ายขึ้น
โดย สำนักงาน ก.พ. |