เมื่อต้นเดือนตุลาคมที่ผ่านมาได้มีการลงนามในบันทึกความเข้าใจว่าด้วยการพัฒนาและส่งเสริมกลุ่มผู้ผลิต สินค้าเกษตรให้สามารถกระจายสินค้าไปยังผู้ขายรายย่อยได้ระหว่าง
บริษัทแม็คโคร (กัมพูชา) และกระทรวงพาณิชย์กัมพูชา โดยบันทึกความเข้าใจ (MOU) นี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ Accelerating Inclusive Markets for Smallholders (Aims)
เพื่อส่งเสริมการขายสินค้าในโครงการฯ
ดังกล่าวสู่ผู้บริโภคในกัมพูชา
นายเคม สีธาน ปลัดกระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า
สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ได้ส่งผลกระทบต่อสภาพเศรษฐกิจ
สังคม และชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนในหลายๆ
ประเทศ ทั่วโลก รวมถึงกัมพูชาด้วย ซึ่งรัฐบาลได้พยายามใช้มาตรการต่าง ๆ
เพื่อแก้ไขปัญหา ลดความเดือดร้อนของประชาชนในช่วงสถานการณ์โควิด-19 ซึ่งรวมถึงนโยบายที่นายกรัฐมนตรีสนับสนุนให้เกษตรกรปลูกข้าว
พืชผัก รวมทั้งเลี้ยงสัตว์เพิ่มมากขึ้น
เพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการของ ประชาชนในประเทศ
รวมทั้งหาช่องทางใหม่ๆ ในการจำหน่ายสินค้าให้กับเกษตรกรในประเทศ
ซึ่งนายเคม กล่าวว่า การร่วมมือกับทางแม็คโครในครั้งนี้ ถือเป็นบทบาทสำคัญในการให้ความช่วยเหลือ
พัฒนา และส่งเสริมกลุ่มผู้ผลิต สินค้าเกษตร
รวมทั้งสนับสนุนการกระจายสินค้าผ่านแม็คโครสู่ร้านค้าปลีกรายย่อย
พร้อมยกระดับคุณภาพให้ผลผลิต มีความสม่ำเสมอและขายได้ราคา โครงการ Accelerating
Inclusive Markets for Smallholders (Aims) เป็นโครงการความร่วมมือระหว่าง กระทรวงพาณิชย์กัมพูชากับกองทุนระหว่างประเทศเพื่อพัฒนาเกษตรกรรม
(International Fund for Agricultural
Development : Ifad )
โดยมีจุดประสงค์หลักเพื่อส่งเสริมให้เกษตรกรมีรายได้ที่ยั่งยืนมากขึ้น
และสามารถเชื่อมโยง กระจายผลผลิตต่างๆ
ทั้งผัก ผลิตภัณฑ์จากสัตว์ปีก ข้าว มันสำปะหลัง และไหมดิบ ไปยังตลาดต่างๆ ใน 18 จังหวัดได้
โดยความร่วมมือของแม็คโคร ที่ผ่านมา คณะทำงานของโครงการฯ
ณ จังหวัดเสียมราฐ ได้
อำนวยควาสะดวกในการเชื่อมโยงเกษตรกรในพื้นที่ปลูกผักและเลี้ยงสัตว์ปีกปลอดสารพิษตามมาตรฐานและขายผลผลิตให้แม็คโครสาขาต่างๆ โดยเกษตรกรในโครงการที่อยู่ในภาคตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศส่วนใหญ่จะขายผลผลิตให้กับแม็คโครสาขา เสียมราฐ ซึ่งที่ผ่านมาทางแม็คโครได้ซื้อผัก จำนวน
4,320 กิโลกรัม
และเนื้อไก่ 156 กิโลกรัมจากเกษตรกรในพื้นที่
ภายใต้โครงการฯ ดังกล่าว สำหรับเกษตรกรในภาคตะวันออกและตะวันออกเฉียงเหนือที่อยู่ภายใต้โครงการฯ
แม็คโคร สาขาพนมเปญ จะเป็นผู้รับซื้อผลผลิตเพื่อมาจำหน่ายให้แก่ผู้บริโภคและร้านค้ารายย่อยต่อไป
ผลกระทบต่อธุรกิจของไทยและแนวทาง/โอกาสของภาคเอกชนไทย แม้ว่าความร่วมมือฯ ดังกล่าว
จะส่งเสริมสนับสนุนให้มีการเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรภายในประเทศเพิ่ม มากขึ้น
ก็ตาม แต่ก็ไม่ได้ทำให้การนำเข้าสินค้าผักและผลไม้จากไทยลดลง
ทั้งนี้ เนื่องมาจากผลไม้ส่วนใหญ่ที่นำเข้า จากประเทศไทยเป็นคนละชนิดกันกับที่ปลูกได้ในกัมพูชา
อย่างไรก็ตาม การที่ภาคธุรกิจของไทยเข้าไปมีความ ร่วมมือกับทางภาครัฐของกัมพูชา
ในด้านการให้ความช่วยเหลือ ส่งเสริมและสนับสนุนความร่วมมือด้านต่างๆ ไม่ว่า จะเป็นการพัฒนาคุณภาพสินค้า ด้านการตลาด
เพื่อให้เกษตรกรผลิตสินค้าได้ตามความต้องการของตลาดและมีรายได้เพิ่มมากขึ้น
ถือว่าจะส่งผลดีต่อภาพลักษณ์ของธุรกิจค้าปลีกของไทยในสายตาของชาวกัมพูชา
และช่วยลดแรงกดดันจากชาวกัมพูชาบางกลุ่มที่เคยต่อต้านสินค้าและธุรกิจของไทยให้ลดน้อยลง
ที่มา สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ
ณ กรุงพนมเปญ ตุลาคม 2563
|