คณิศ
แสงสุพรรณ เลขาธิการ คณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) เปิดเผยว่า
ที่ประชุมคณะอนุกรรมการบริหารการพัฒนาเขตพัฒนา พิเศษภาคตะวันออก (กบอ.) ที่มี
อุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ได้อนุมัติแนวทางผ่อนปรนการเดินทางเข้าประเทศที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก
(อีอีซี) โดยจะหารือกับ
กระทรวงสาธารณสุขและคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.)
ที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธานเพื่อขออนุมัติ กลุ่มบุคลากรภาคธุรกิจในอีอีซีจากญี่ปุ่น
รวมทั้งภาคธุรกิจจากเกาหลีใต้และประเทศอื่นที่เกี่ยวข้องกับภาคอุตสาหกรรม
ได้ยื่นหนังสือถึงภาครัฐขอผ่อนคลายการ เดินทางเข้าไทย
เพื่อวัตถุประสงค์ทางธุรกิจรวมถึงการส่งช่างเทคนิค
เข้ามาตรวจสอบซ่อมบำรุงเครื่องจักรในอุตสาหกรรม
ขณะนี้สถานการณ์โควิด-19 ในประเทศไทยและต่างประเทศปัจจุบันมีแนวโน้มที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง
โดยรัฐบาลได้มีมาตรการผ่อนปรนระยะต่างๆ ทั้งนี้กำลังหารือกับกระทรวงการ ต่างประเทศ
สร้างภาคีเครือข่ายระหว่างองค์กร บุคลากรทางการแพทย์ในประเทศต้นทางกับ
สถานเอกอัครราชทูตไทย หรือสถานกงสุลใหญ่ จัดให้มีการตรวจและออกใบรับรองแพทย์
ที่ยืนยันว่าผู้เดินทางมีสุขภาพเหมาะสมกับการเดินทางทางอากาศ
รวมทั้งจะหารือกับกระทรวงสาธารณสุข
เพื่อพิจารณากำหนดประเทศต้นทาง
และจำนวนบุคลากรที่จะอนุญาตให้เดินทาง
เข้าประเทศในแต่ละช่วงเวลาการกำหนดมาตรการกักกัน Flexible Alternative Quarantine ให้ผู้เดินทางเข้าประเทศ
ทำภารกิจที่จำเป็นได้และร่วมกันพิจารณาขึ้นทะเบียนสถานกักตัวทางเลือก Alternative
State Quarantine เพิ่มเติมในพื้นที่อีอีซี
ที่บุคลากรในโรงพยาบาลเอกชนสามารถสื่อสารภาษากับประเทศต้นทางได้
เพื่ออำนวยความสะดวกยิ่งขึ้น
รายงานข่าวจากทำเนียบรัฐบาลระบุว่า
เมื่อวันที่ 14 พ.ค.2563
อี อุก-ฮ็อน เอกอัครราชทูตเกาหลีประจำประเทศไทย เข้าพบ สมคิด
จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี
เพื่อหารือเกี่ยวกับการผ่อนปรนให้นักธุรกิจเกาหลีใต้เข้าไทยภายหลังจากที่สถานการณ์โควิด-19
ในเกาหลีใต้คลี่คลาย
ปัจจุบันมีนักธุรกิจที่ต้องเดินทางเข้ามา
หารือและติดต่อธุรกิจในไทยจำนวนหนึ่ง
ซึ่งกบอ.รับทราบการดำเนินการช่วงสถานการณ์ภัยแล้งที่ผ่านมา
โดยสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) กรมชลประทาน สกพอ.และภาคเอกชน
ร่วมกันผลักดันมาตรการเร่งด่วน 8 โครงการ ร่วมกับ 4 มาตรการเสริม
และขอความร่วมมือลดใช้น้ำในนิคมอุตสาหกรรม 10% ซึ่งช่วยให้อีอีซีพ้นวิกฤตภัยแล้งได้โดยแนวนโยบายต่อไป
นอกจากนี้พล.อ.ประวิตร
วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี มอบนโยบายเพื่อให้เกิดความมั่นคงด้านน้ำ และรองรับ
ภัยแล้งในปีต่อไป เช่น วางแผนและ บริหารจัดการน้ำให้เพียงพอในฤดูแล้งหน้า ปี 2563/2564
ขณะเดียวกัน
กบอ.รับทราบแผนพัฒนาการเกษตรในอีอีซี
เพื่อยกระดับรายได้เกษตรกรให้เทียบเท่ากลุ่มอุตสาหกรรมและบริการ
แนวทางการพัฒนาภาคเกษตรในอีอีซี ได้แก่
1.ใช้ความต้องการนำการผลิต
2.ยกระดับ
การตลาด-การแปรรูป-การเกษตร ด้วยเทคโนโลยีในทุกขั้นตอน
3.ให้ความสำคัญกับ
5 คลัสเตอร์ที่มีพื้นฐานทำได้ทันที
ทั้งนี้
ได้แต่งตั้งคณะทำงานจัดทำแผนพัฒนา การเกษตรในอีอีซี มีปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
เป็นประธาน (กรุงเทพธุรกิจ, บางกอกโพสต์, แนวหน้า, ไทยโพสต์,
ผู้จัดการรายวัน 360)
ที่มา เพจ BOI
News
|